ทฤษฎีมนุษยนิยม
ทฤษฎีมนุษยนิยมมีวิวัฒนาการมาจากทฤษฎีกลุ่มที่เน้นการพัฒนาตามธรรมชาติ
แต่ก็จะมีความเป็นวิทยาศาสตร์ คือเป็นกระบวนการมากยิ่งขึ้น กลุ่มทฤษฎีมนุษยนิยม เป็นทฤษฎีที่คัดค้านการทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์แล้วมาใช้อ้างอิงกับมนุษย์และปฏิเสธที่จะใช้คนเป็นเครื่องทดลองแทนสัตว์
นักทฤษฎีในกลุ่มนี้เห็นว่ามนุษย์มีความคิด มีสมอง อารมณ์และอิสรภาพในการกระทำ
การเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีนี้เชื่อว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน
การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ
ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กันโดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม การแสดงออกตลอดจนการเลือกเรียนตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก
บรรยากาศในการเรียนเป็นแบบร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขันกันอาจารย์ผู้สอนทำหน้าที่ช่วยเหลือให้กำลังใจและอำนวยความสะดวกในขบวนการเรียนของผู้เรียนโดยการจัดมวลประสบการณ์
เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ทฤษฎีมนุษยนิยม
หลักการหรือความเชื่อของทฤษฎี
หลักการหรือความเชื่อของทฤษฎีมนุษย์นิยม
คือ
1. มนุษย์มีธรรมชาติแห่งความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้
2.
มนุษย์มีสิทธิในการต่อต้านหรือไม่พอใจในผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งต่างๆ
แม้สิ่งนั้นจะได้รับการยอมรับว่าจริง
3.
การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์คือการที่มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด
หรือมโนทัศน์ของตนเอง
นักทฤษฎีกลุ่มนี้มีความเชื่อว่ามนุษย์มีอิสระที่จะเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่ดีจากการสนับสนุน
หรือส่งเสริมของครูผู้สอน ผู้นำความคิดที่สำคัญได้แก่ Rogers และ Maslow ทฤษฏีนี้ เชื่อว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน
การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ
ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กันโดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม
การแสดงออกตลอดจนการเลือกเรียนตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก
การประยุกต์ใช้
การประยุกต์ใช้ของทฤษฎีมนุษย์นิยม
ซึ่งครูผู้สอนเป็นผู้นำไปประยุกต์ใช้ มีข้อปฏิบัติสำคัญ ดังนี้
1. ครูควรเป็นคนใจกว้าง
ไม่ยึดติดกับความคิด หรือความเชื่อของตนเอง
2. ครูควรรับฟังผู้เรียนมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับความรู้สึก
3. ให้ความสำคัญกับผู้เรียนเท่ากับความสำคัญของเนื้อหาที่นำมาสอน
4. ยินดีรับฟังข้อเสนอแนะทั้งทางบวกและทางลบ
5. กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง
6. จัดการเรียน
กิจกรรม สื่อการเรียนการสอนให้หลากหลาย
7. กระตุ้นให้ผู้เรียนเข้าใจว่าการประเมินผลที่มีคุณค่า
คือการประเมินตนเองของผู้เรียน
นักทฤษฎีมนุษย์นิยมและแนวคิด
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยมมีนักปรัชญาหลายหลากท่านที่ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฏีนี้ ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ
ในกลุ่มนี้มี 2 ทฤษฏีและ 5 แนวคิด
สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา(http://surinx.blogspot.com/) อ้างถึงในทิศนา แขมมณี(2550 : 50 - 76) กล่าวไว้ว่า
“ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม
(Humanism)นักคิดกลุ่มมนุษยนิยม
ให้ความสำคัญของการเป็นมนุษย์ และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ
มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน
หากบุคคลได้รับอิสรภาพและเสรีภาพ
มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
นักจิตวิทยาคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ มาสโลว์(Maslow)
รอเจอร์ส(Rogers) โคมส์(Knowles) แฟร์(Faire)
อิลลิช(illich) และนีล(Neil)”
ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ
มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง
ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ
มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์
เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
ณัชชากัญญ์
วิรัตนชัยวรรณ กล่าวว่า
“นักคิดกลุ่มมนุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า
มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน
หากบุคคลมีอิสระภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์”
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์
เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์
เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า
ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติ หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น บริบูรณ์ด้วยความรัก มีอิสรภาพและเสรีภาพ
มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม
บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง52 (http://dontong52.blogspot.com/ ) กล่าวว่า
“นักคิดกลุ่มมนุษยนิยม
ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่ามีความดีงาม มีความสามารถ
มีความต้องการ นักจิตวิทยาคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ มาสโลว์ รอเจอร์ส โคม โนลส์ แฟร์
อิลลิซ และนีล”
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม
นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีความเห็นตรงกันว่าเด็กควรได้รับความช่วย
เหลือจากครูในทุกด้านไม่ใช่เฉพาะการได้รับความรู้หรือการมีความเฉลียวฉลาดเพียงอย่างเดียว
แต่ควรได้รับความช่วยเหลือให้รู้จักศึกษาและสำรวจเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก
และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด
เจตคติ
และจุดมุ่งหมายความต้องการของตนเอง
หรืออาจกล่าวได้ว่านักเรียนควรจะได้รับความช่วยเหลือให้มีความเข้าใจในตนเองและมีจุดยืนเป็นของตนเองอย่างชัดเจนว่าตนเองมีความต้องการสิ่งใดแน่และมีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร
เพราะในปัจจุบันมีสิ่งที่เด็กจะต้องตัดสินใจเลือกมากมาย
คนที่มีจุดยืนที่แน่นอนเท่านั้นจึงจะสามารถเลือกสิ่งที่มีความหมายและก่อให้เกิดความพึงพอใจให้กับตนเองให้ดีที่สุด
กล่าวโดยสรุป ความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม
มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลมีอิสรภาพและเสรีภาพ
มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
****************************************************************
อ้างอิง
การศึกษาการเรียนการสอนโดย
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. ทฤษฎีการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 29มิถุนายน 2555.จาก: http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486
ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้
เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บริหารการศึกษา
กลุ่มดอนทอง52. จิตวิทยาการศึกษา.
สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2555.จาก: http://dontong52.blogspot.com/
สุริน ชุมสาย ณ
อยุธยา(http://surinx.blogspot.com/) อ้างถึงในทิศนา
แขมมณี(2550 : 50 - 76)